การศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ประเทศไทยตั้งอยู่ใน hotspot ที่เรียกว่า "Indo-Burma" ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยจึงมีความร่ำรวยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่นำมาพัฒนาต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น หลายประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็น "ต้นทุนทางธรรมชาติ" สร้างสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภัยพิบัติจากธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และอีกส่วนหนึ่งเป็น "ฐานทรัพยากร" นำมาวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน
เว็บไซต์ ThaiSciBiodiversity.org เกิดขึ้นจากแนวคิดบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของ ดร พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการจัดการข้อมูลงานวิจัยทรัพยากรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์เร่งด่วนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน รวมทั้งมีฐานข้อมูลภาพรวมงานวิจัยด้านทรัพยากรชีวภาพที่ง่ายต่อการสืบค้นและมีประโยชน์ทั้งในแง่การบริหารและการวางนโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพของประเทศ
เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน 2554 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีพิธีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การจัดการข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลักภายใต้กระทรวงฯ ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1.1 เพื่อร่วมกันดำเนินงานด้านบริหารจัดการฐานข้อมูลและองค์ความรู้ความด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
1.2 เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และบริหารจัดการให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถสืบค้นได้ง่ายเหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้
1.3 เพื่อร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 เพื่อร่วมกันจัดตั้งกลไกและรูปแบบของการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงาน
1.5 เพื่อร่วมกันนำข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของแต่ละฝ่ายมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนการดำเนินงานที่สามารถนำไปใช้ในการเสนอของบประมาณประจำปี อันจะช่วยให้เห็นภาพรวมของการบริหารจัดการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของทุกหน่วยงาน
โดยหน่วยงานฯ ทั้ง 3 แห่งนี้ดำเนินงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในสาขาแตกต่างกันออกไป ครอบคลุมตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานไปจนถึงการใช้ประโยชน์ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมและการเชื่อมต่อองค์ความรู้และข้อมูลตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการใช้ประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการจัดการข้อมูล นำความรู้ไปบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดเป็นคลังความรู้จากการวิจัยที่สมบูรณ์ของประเทศ พร้อมต่อยอดกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นวิทยาศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นรากฐานที่สำคัญในการพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ประเทศไทยตั้งอยู่ใน hotspot ที่เรียกว่า "Indo-Burma" ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่มีความสำคัญสูงสุด 8 อันดับแรกของโลก ประเทศไทยจึงมีความร่ำรวยความหลากหลายทางชีวภาพ ที่นำมาพัฒนาต่อยอด และเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น หลายประเทศที่พัฒนาแล้วหรือกำลังพัฒนา ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนหนึ่งเพื่อเป็น "ต้นทุนทางธรรมชาติ" สร้างสมดุลทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดภัยพิบัติจากธรรมชาติที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ และอีกส่วนหนึ่งเป็น "ฐานทรัพยากร" นำมาวิจัยและพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน
เว็บไซต์ ThaiSciBiodiversity.org เกิดขึ้นจากแนวคิดบูรณาการข้อมูลเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้งานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของ ดร พรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการจัดการข้อมูลงานวิจัยทรัพยากรชีวภาพ และความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อตอบโจทย์ยุทธศาสตร์เร่งด่วนงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน รวมทั้งมีฐานข้อมูลภาพรวมงานวิจัยด้านทรัพยากรชีวภาพที่ง่ายต่อการสืบค้นและมีประโยชน์ทั้งในแง่การบริหารและการวางนโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพของประเทศ
เมื่อวันอังคารที่ 5 เมษายน 2554 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มีพิธีการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "การจัดการข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ขึ้น โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงานหลักภายใต้กระทรวงฯ ที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1.1 เพื่อร่วมกันดำเนินงานด้านบริหารจัดการฐานข้อมูลและองค์ความรู้ความด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
1.2 เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และบริหารจัดการให้ข้อมูลดังกล่าวสามารถสืบค้นได้ง่ายเหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้
1.3 เพื่อร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 เพื่อร่วมกันจัดตั้งกลไกและรูปแบบของการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงาน
1.5 เพื่อร่วมกันนำข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของแต่ละฝ่ายมาใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนการดำเนินงานที่สามารถนำไปใช้ในการเสนอของบประมาณประจำปี อันจะช่วยให้เห็นภาพรวมของการบริหารจัดการข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของทุกหน่วยงาน
โดยหน่วยงานฯ ทั้ง 3 แห่งนี้ดำเนินงานวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในสาขาแตกต่างกันออกไป ครอบคลุมตั้งแต่งานวิจัยพื้นฐานไปจนถึงการใช้ประโยชน์ การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จึงเป็นการส่งเสริมและการเชื่อมต่อองค์ความรู้และข้อมูลตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงการใช้ประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการจัดการข้อมูล นำความรู้ไปบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เกิดเป็นคลังความรู้จากการวิจัยที่สมบูรณ์ของประเทศ พร้อมต่อยอดกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง |
|